5 อุปกรณ์ Safety ป้องกันอันตรายเบื้องต้น
- อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ (Head Protection Equipment)
- สวมไว้เพื่อป้องกันศีรษะจากการถูกชนหรือกระแทก และวัตถุตกจากที่สูงกระทบต่อศีรษะ ได้แก่หมวกนิรภัย มี 2 ชนิด คือ
- ชนิดที่มีขอบหมวกโดยรอบ
- ชนิดที่มีเฉพาะกระบังด้านหน้า
- หมวกนิรภัยยังแบ่งออกตามคุณสมบัติของการใช้งานได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
- ประเภท A เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป เช่น งานก่อสร้าง หรือของแข็งหล่นกระแทกศีรษะ วัสดุที่ใช้ทำหมวกประเภทนี้เป็นพลาสติก หรือไฟเบอร์กลาส
- ประเภท B เหมาะสำหรับการใช้งานที่เกี่ยวกับสายไฟแรงสูง วัสดุที่ใช้ทำหมวกคือ วัสดุสังเคราะห์ประเภทพลาสติก และไฟเบอร์กลาส
- ประเภท C เหมาะสำหรับงานที่ต้องทำในบริเวณที่มีอากาศร้อน วัสดุทำจากโลหะ ไม่เหมาะใช้งานเกี่ยวข้อง กับกระแสไฟฟ้า
- ประเภท D เหมาะสำหรับงานดับเพลิง วัสดุที่ทำหมวก เป็นอุปกรณ์วัสดุสังเคราะห์ประเภทพลาสติก และไฟเบอร์กลาส
- สวมไว้เพื่อป้องกันศีรษะจากการถูกชนหรือกระแทก และวัตถุตกจากที่สูงกระทบต่อศีรษะ ได้แก่หมวกนิรภัย มี 2 ชนิด คือ
- อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา (Eye and face protection equipment)
- ช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น จากวัตถุ สารเคมีกระเด็นเข้าตา ใบหน้า หรือป้องกันรังสีที่จะทำลายดวงตา แบ่งเป็น
- แว่นตานิรภัย (Protective spectacles or glasses) มี 2 แบบ คือ
- แบบไม่มีกระบังข้าง เหมาะสำหรับใฃ้งานที่มีเศษโลหะ หรือวัตถุกระเด็นมาเฉพาะทางด้านหน้า
- แบบมีกระบังข้าง เหมาะสำหรับการใช้งานที่มีเศษโลหะ หรือวัตถุกระเด็นข้าง
- แว่นครอบตา (Goggles) เป็นอุปกรณ์ป้องกันตา ที่ปิดครอบตาไว้ มีหลายชนิด ได้แก่
- แว่นครอบตากันวัตถุกระแทก เหมาะสำหรับงานสกัด งานเจียระไน
- แว่นครอบตาป้องกันสารเคมี เลนส์ของแว่นชนิดนี้ จะต้านทานต่อแรงกระแทก และสารเคมี
- แว่นครอบตาสำหรับงานเชื่อม ป้องกันแสงจ้า รังสี ความร้อน และสะเก็ดไฟจากงานเชื่อมโลหะ หรือตัดโลหะ
- แว่นตานิรภัย (Protective spectacles or glasses) มี 2 แบบ คือ
- ช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น จากวัตถุ สารเคมีกระเด็นเข้าตา ใบหน้า หรือป้องกันรังสีที่จะทำลายดวงตา แบ่งเป็น
- อุปกรณ์ป้องกันหู (Ear Protection equipment)
- เป็นอุปกรณ์ที่สวมใส่ เพื่อกันความดังของเสียงที่จะมากระทบต่อแก้วหู กระดูกหู เพื่อป้องกันอันตรายที่มีต่อระบบการได้ยิน แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้
- ที่อุดหู (Ear plug) จึงเลือกชนิดที่มีความเหมาะสมกับการใช้งานให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ซึ่งในวัสดุแต่ละชนิดนั้นจะช่วยลดความดังของเสียงที่แตกต่างกัน ดังนี้
- สำลีหรือฝ้ายธรมดา ช่วยลดความดังของเสียงได้ 8 เดซิเบล
- อะคริลิค (Acrylic) ช่วยลดความดังของเสียงได้ 18 เดซิเบล
- ใยแก้ว ช่วยลดความดังของเสียงได้ 20 เดซิเบล
- ยางซิลิโคน (Silicon rubber) ช่วยลดความดังของเสียงได้ 15 – 30 เดซิเบล
- ยางอ่อนและยางแข็ง ช่วยลดความดังของเสียงได้ 18 – 25 เดซิเบล
- ที่ครอบหู (Ear muff) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับป้องกันเสียงดังที่เป็นอันตรายต่อระบบการได้ยินของหู ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายหูฟัง ที่ใช้ครอบใบหูทั้งสองข้าง โดยมีก้านโค้งครอบศรีษะและใช้วัสดุที่มีความนุ่นหุ้มทับ ส่วนตัวครอบหูนั้นมีการออกแบบให้แตกต่างกันตามลักษณะของการใช้งาน
- ที่อุดหู (Ear plug) จึงเลือกชนิดที่มีความเหมาะสมกับการใช้งานให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ซึ่งในวัสดุแต่ละชนิดนั้นจะช่วยลดความดังของเสียงที่แตกต่างกัน ดังนี้
- เป็นอุปกรณ์ที่สวมใส่ เพื่อกันความดังของเสียงที่จะมากระทบต่อแก้วหู กระดูกหู เพื่อป้องกันอันตรายที่มีต่อระบบการได้ยิน แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้
- อุปกรณ์ป้องกันมือ (Hand Protection Equipment)
- ในการปฏิบัติงานที่ต้องใช้ส่วนของมือ นิ้วมือ และ แขน ซึ่งจาจเสี่ยงต่ออันตรายจากการถูกวัตถุมีคม บาด ตัด การขูดขีดทาให้ผิวหนังถลอก การจับของร้อน หรือ การใช้มีอลัมพัสวัลดุอุปกรณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายอื่นๆ นั้นจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน โดยใช้กุงมือหรือเครื่องสวมเฉพาะนิ้วชนิดต่างๆ ตามความเหมาะสมกับลักษณะของงานดังนี้
- ถุงมือใยหิน สำหรับป้องกันความร้อนหรือไฟ
- ถุงมือใยโลหะ สำหรับงานที่ต้องชั่น ตัด หรือจับของมีคม
- ถุงมือยาง สำแรับงานไฟฟ้า แต่ถ้าเป็นงานเกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูง ต้องลวมถุงมือหนังทับอีก 1 ชั้น
- ถุงมือยางไวนีล ถุงมีอยางนีโอพรีน สำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี
- ถุงมือหนัง สำหรับงานไม้ งานโลหะ งานขัดผิว แกะสลัก หรืองานเชื่อมที่ไม่ใด้ใช้ความร้อนสูง
- ถุงมือหนังเสริมใยเหล็ก สำหรับงานหลอมหรือถลุงโลหะ
- ถุงมือผ้า สำหรับงานทั่วไป ใช้เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกหรือของมีคมอย่างมีด
- ถุงมือผ้าแบบเคลือบน้ำยา สำหรับงานที่ต้องสัมผัสสารเคมีเล็กน้อย เช่น งานบรรจุกระป๋อง หรืองานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
- ในการปฏิบัติงานที่ต้องใช้ส่วนของมือ นิ้วมือ และ แขน ซึ่งจาจเสี่ยงต่ออันตรายจากการถูกวัตถุมีคม บาด ตัด การขูดขีดทาให้ผิวหนังถลอก การจับของร้อน หรือ การใช้มีอลัมพัสวัลดุอุปกรณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายอื่นๆ นั้นจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน โดยใช้กุงมือหรือเครื่องสวมเฉพาะนิ้วชนิดต่างๆ ตามความเหมาะสมกับลักษณะของงานดังนี้
- อุปกรณ์ป้องกันเท้า (Foot Protection Equipment)
- รองเท้านิรภัยอุปกรณ์เชฟตี้ที่ออกแบบมาเพื่อลดแรงกระแทกที่จะเกิดกับนิ้วเท้า เท้า และข้อเท้า มีหลายชนิด เลือกใช้ตามความเหมาะสมของงาน เช่น
- รองเท้านิรกัยแบบหัวโลหะ รับน้ำหนักตัวได้มากถึง 1,100 กิโลกรัม และทนแรงของวัตถุที่หนักราวๆ 20 กิโลกรัมได้เป็นอย่างดี เหมาะกับผู้ทำงานก่อสร้าง
- รองเท้านิรกัยแบบหุ้มข้อ ทำจากยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ใช้เป็นฉนวนกันกระแสไฟในงานไฟฟ้า
- รองเท้านิรภัยป้องกันสารเคมี ทำาจากไวนิล นีโอพรีน ยางธรรมชาติ หรือยางสังเคราะห์ที่สามารถทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมีได้ มีทั้งแบบหัวรองเท้ารรรมดาและหัวโลหะ
- รองเท้านิรภัยแบบหุ้นแข้ง ใช้ในงานกลุงโลหะ หลอมโลหะ และงานเชื่อมต่างๆ
สำหรับป้องกันความร้อนจากการถลุงและป้องกันการกระเด็นของโลหะที่หลอมเหลว - รองเท้านิรภัยแบบพื้นไม้ ใช้ในโรงงานที่พื้นเปียกชื้นตลอดเวลา เช่น โรงงานผลิตเบียร์ เป็นต้น
- รองเท้านิรกัยจะต้องสวมไส่สะดวกและกอดออกได้ง่ายในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน
- รองเท้านิรภัยอุปกรณ์เชฟตี้ที่ออกแบบมาเพื่อลดแรงกระแทกที่จะเกิดกับนิ้วเท้า เท้า และข้อเท้า มีหลายชนิด เลือกใช้ตามความเหมาะสมของงาน เช่น
หากสนใจอบรมหลักสูตร จป. ติดต่อ
: 02-4452935-37
: 090-7373859
: 06-32698448
: @pcmclub